วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รวมภาพสุดยอดอาหารแซ่บ ๆ จากอีสานเด้อ




























ก้อยกะปอม

วิธีทำก้อยกะปอม

ขั่นแรกกะจัดการลอกหนังกะปอมออก เอาเครื่องในถิ่ม นำมาย่างไปอ่อนๆให้กะปอมสุกเหลือง





ทำการสับให้เป็นชิ้นน้อยๆ




อั่นนี้เป็นบักม่วงส้มเด้อพี่น้อง เอามาก้อยใส่กะปอมเพื่อให้มีรสซาติออกเปรี้ยวๆเนาะ



นำเอากะปอมที่สับเป็นชิ้นๆมาตำในครกให้ละเอียด
นำบักม่วงลงตำในครกที่ตำกะปอม ตำให้เข้ากัน




ใส่เครื่องปรุงลงไป พริงป่น ข้าวขั่ว น้ำปลา ผงชูรส น้ำปลาแดก




ใส่ผักใบเป ผักใบมน หัวหอม ต้นหอม ซอยลงไป ตำให้เข้ากัน
พอเสร็จแล้วกะสิเป็นหน้าตาแบบนี้ละ เพิ่มความเผ็ดด้วยบักพริกหน่วย เชิญแซบเด้อบาดนิ อิอิอิ


แหล่งที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread19915.html

อู๋ปลาซิว หรือ อ๋อปลาซิว

วิธีทำ อู๋ปลาซิว หรือ อ๋อปลาซิว 


ส่วนประกอบในการอู๋ปลาก็มี
1. ผักชีลาว
2. ต้นหอม
3. หัวหอม พริกแห้ง พริกสด
4. ตะไคร้ ข้าวคั่ว น้ำปลา ซอส ผงรสดี




หั่นผักชีลาว ต้นหอม
ตำพริกแห้ง หัวหอม ตะไคร้
เทรวมกัน เติมข้าวคั่ว ผงรสดี
น้ำปลา ซอส คนให้เข้ากันดี





เทใส่กะทะ ใส่น้ำบ่ต้องหลาย ประมาณโหลงเหลงก้นกะทะนั่นละจ้า





สุกแล้วจ้า



แหล่งที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread43206.html

ป่นปลาเข็ง





ป่นปลาเข็ง

หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วบ้านเฮาชาวอิสานเพิ่นกะสินิยมพากันสูบปลาโดยเฉพาะนาผู้ได๋มีสระ มีฝาย กะสิชวนพี่ ชวนน้องพากันไปสูบปลา ปลาที่ได๋กะสิมากมายหลายปลาบ่ว่าสิเป็น ปลาข่อ ปลาดุก ปลาเข็ง ปลากิเดิด ปลาซิว อีกมากมายหลายปลา

ปลาที่ได๋กะแบ่งกันไปกินตามหรือบางเทื่อได้บ่หลายกะสิเอ็ดกินปันกันกิน ตามวิถีชีวิตของคนอีสานบ้านเฮา มื้อนี้ กะเลยนำเมนูเด็ดอีกเมนูหนึ่งมาแนะนำนั่นกะคือ ป่นปลาเข็ง ( แจ่วปลาเข็งหรือ ปลาหมอ ) นั้นเอง
ส่วนผสม ของป่นปลาเข็งเฮากะสิมี
1.ปลาเข็ง ( ปลาหมอ )
2.ปลาร้า
3.พริกสดหรือพริกป่น
4.ต้นหอม
5.น้ำปลา
6.ผงชูรส (แล้วแต่คนชอบ )
วิธีทำ
นำปลาเข็งมาเอาเกล็ดและขี้ออก ต้มน้ำให้เดือด แล้วก็ใส่ปลาร้าละกะพริกสดลงไปจักหน่อย พอน้ำเดือดกะใส่ปลาเข็ง ลงไปต้ม ปิดฝาหม้อต้มจัก 10 -15 นาที พอปลาสุกแล้วกะ ตักออกมาใส่จานแกะเอาแต่เนื้อ ตักพริกสดที่ต้มลงไปตำในครกพอแหลก ๆ จากนั้น กะเทเนื้อปลาลงไปตำ พอแหลกจักหน่อย กะเทน้ำต้มปลาลงไปผสม ปรุงรสด้วย น้ำปลา ต้นหอม ผงชูรส เล็กน้อย ถ้าอยากให้ป่นปลามีสีสัน จักหน่อย อาจสิใส่พริกป่นแทนพริกสดกะได้ หรือว่าตอนต้มให้ใส่หมากกอกนาน้ำต้มมันสิได้มีรสชาติหวานจักหน่อย.พอปรุงรสชาติได้ที่แล้วกะตักใส่จาน กินกับลวกผักได้เลย แม่นแท้ กับลวกผักกะเดา หรือ ปิ้งผักกะเดา กะแซบคะนาด

อ่อมกบ ผักขะแยง

       

 อ่อมกบ ผักขะแยง 
ทำคล้ายๆกันหมดทั้งปลาทั้งกบ แต่ความอร่อยแตกต่างกัน โดยเฉพาะขาโต้ยกบ นี่สุดยอด
- กบทำแล้วสัยเป็นชิ้นๆ 1 ข้อมือ 4 ตัว ล้างสะอาดก่อนสับ สับแล้วไม่ต้องล้างอีกเดี๋ยวเนื้อจืด บ่อแซบ
- ผักขะแยง 1 กำมือ ล้างให้สะอาด แล้วเด็ดเอาส่วนอ่อน
- พริกสอ 10 เม็ด - หัวหอม 4 หัว - เกลือ 1 ช้อนชา โขลกรวมกันให้ละเอียด
- ข่าสด 3 แว่น - ตะไคร้ 1 ต้น
- น้ำปลาร้า 1 ช้อนโต๊ะ (ไม่ใส่ก็ได้ อีสานแท้ จะนัวกว่านี้ ข้อยเอาเท่านี้แหละ)
- น้ำปลาดี ตามสบาย
- ข้าวเบือ 1 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็นแฟนเก่าโหระพาจะรู้ว่าข้าวเบือคือ ข้าวสารเหนียว แช่นิ่ม โขลกละเอียดใส่ให้แกงหรืออ่อมข้น เวลาจ้ำ หรือคุ้ย คำข้าวไม่เปื่อยยุ่ย คนอีสาน รุ่นโบราณ ถือมากเรื่อง เมล็ดข้าวของคำข้าว หลุดใส่ถ้วยใส่จานอาหารส่วนกลาง ปัจจุบันนี้พัฒนามีภาชนะส่วนตัวกันหมดแล้ว )
- น้ำ เล็กน้อย

วิธีทำ

- เอาน้ำ ประมาณ 1/2 ถ้วยลงหม้อตั้งไฟพอเดือดเอาพริกที่โขลกรว ลงพร้อมกับข่า ตะไคร้ เอากบลงคั่ว
(อาการคนใส่น้ำน้อย) จนกบสุก ใส่น้ำ1 ถ้วย พอเดือดเอาน้ำปลาร้าลง น้ำปลาปรุงเค็ม ได้ที่ เอาผักขะแยงลง พลิกกลับไปมา ถ้าน้ำน้อยเพิ่มได้ไม่มาก น้ำต้องน้อยกว่าส่วนประกอบ จากนั้นเอาข้าวเบือละลายน้ำนิดเดียว คนให้เป็นแป้ง ค่อยๆใส่ลงหม้อ พอน้ำข้นหยุดใส่ คนเบาๆ ยกลง ขั้นตอนใส่ผักต้องเร็ว ถ้านานผักจะคล้ำเปื่อย ไม่อร่อยค่ะ
จบแล้วค่ะ ซิฟ่าวลงท่งไปหากบ หาหอยขัวเด้อพีน่อง

ก้อยกุ้งเต้น

วิธีทำ ก้อยกุ้งเต้น







เครื่องปรุง
๑. กุ้งฝอยสด ๆ เป็น ๆ ๑ ถ้วย
๒. หอมแดง ๔-๕หัว ซอยบาง ๆ
๓. พริกขี้หนูสด ๑๐-๒๐ เม็ด หั่นเป็นแว่นบาง
๔. พริกป่น
๕. ตะไคร้ซอย ๒-๓ หัว (ตัดที่แข็งออก)
๖. ข้าวคั่ว (คั่วใหม่ ๆ ) ๑-๒ ช้อนโต๊ะ โขกละเอียด
๗. น้ำปลา
๘. ใบสะระแหน่(บางท้องถิ่น เรียกใบหูแมว ใบหอมมน) กลิ่นฉุน เด็ดเป็นใบ ๆ ไม่หั่น จะช้ำ
๙. ต้นหอม
๑๐. ใบผักชีฝรั่ง
๑๑. ผักชีจีน
๑๒. ใบมะกรูดหั่นฝอย
๑๓. มะนาว, มะกอก(มะกอกที่ใส่ส้มตำ)
๑๔. ผักแพว ภาษาถิ่นภายัพเรียกผักไผ่

วิธีทำ
๑. ล้างกุ้งให้สะอาด เด็ดหนวด กรี(โครงแข็งแหลมที่หัวกุ้ง)ออก ไม่เอาออกก็ได้เพราะกุ้งฝอย ไม่เหมือนกุ้งก้ามกราม
๒. ใส่น้ำปลา น้ำมะนาว มะกรอก ลงในกุ้ง กุ้งจะเต้น(เขาจึงเรียกกุ้งเต้น ต้องใช้ภาชนะปรุงที่มีฝาปิด (มะกรอกจะทำให้สีอาหารดำ) ถ้าไม่ชอบใส่เฉพาะมะนาว ชิมรส ให้เป็นรสจัด (อย่างบทพระราชนิพนธ์ “วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย” คือสะดุ้ง เพราะรสจัดเผ็ด) ไม่ใช่กุ้งเต้นในปากนะ
๓. ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น
๔. ตามด้วยต้นหอม ผักชี ผักแพว ผักชีฝรั่ง สระแหน่ ตะไคร้ ใบมะกรูด คนให้เข้ากัน กลิ่นหอม ไปด้วยเครื่องปรุงสมุนไพร ทั้งนั้น
ดังบทพระราชนิพนธ์ “ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น” จริง ๆ ไม่มีกลิ่นคาวกุ้งเลยครับ
จัดใส่จานรองด้วยผักสลัด โรยผักชี แต่งด้วยพริกขี้หนหุสวนเม็ด แดง ๆ

ก้อยกุ้ง ที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นอาหารชาววัง วัฒนธรรมนี้ ผมว่าน่าจะได้จากของชาวบ้านเข้าไปรับใช้ในวัง ที่ผมสันนิษฐานแบบนี้ เพราะ ในวังคงไม่นิยมทานดิบ ๆ แน่ แม้แต่การละคร เช่นละครใน ก็ยังเกิดทีหลังละครนอก

หมายเหตุ ถ้าไม่ชอบดิบ ก่อนจะปรุงก็คั่วกุ้งให้สุก แต่รสชาติ จะไม่เหมือน กุ้งเต้นครับ ผักเคียง ยอดมะกอก ยอดมะตูม มะตูมซาอุ ผักแพว (ผักแพว เข้ากันจริง ๆ กับก้อยกุ้ง)

แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481516

ตำลาว


วิธีทำ...ตำลาว...ให้แซบนัว!!!




ส่วนผสม

พริกขี้หนู 7 เม็ด
พริกขี้หนูแห้งโขลกหยาบ 1 ช้อนชา
นำตาลทราย 1 1/2 ช้อนชา
มะเขือส้ม 5 ลูก
มะเขือเทศสีดา 2 ลูก
มะกอกป่า 1 ลูก
มะละกอสับเส้นยาว 2 ถ้วย
ใบกระเทียมหั่นท่อนขนาด 2 ต้น
น้ำปลาร้าปรุงรส 4 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาวหั่นชิ้น 1 1/2 ลูก
ปูนาต้มแกะกระดองออก 2 ตัว
กุ้งฝอยสดคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
ผักสดมี กะหล่ำปลี ผักบุ้งท้องนา ถั่วฝักยาว ผักกระถิน ฯลฯ

วิธีทำ

ตำพริกขี้หนูพอแตก ใส่พริกแห้งโขลก น้ำตาล เฉือนมะเขือส้ม มะเขือเทศสีดา และมะกอกป่าใส่ ตำเคล้าพอเข้ากัน ใส่มะละกอ ใบกระเทียม น้ำปลาร้าปรุงรส น้ำปลาบีบมะนาวใส่ ใส่ปูม้า ตำเคล้าอีกครั้งให้เข้ากันดี ตักใส่จานโรยกุ้งฝอย เสิร์ฟกับผักสด

เทคนิค

ตำลาวหรือตำปลาร้า ตำพื้นฐานของภาคอีสาน รสเผ็ดเค็มนำ นัวด้วยรสปลาร้า พิเศษคือจะใส่ใบกระเทียมด้วย เพระใบกระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้น้ำปลาร้ามีกลิ่นรสที่นวลเนียนขึ้น




แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/20khrkrsded/home/ta-law

วิธีทำ หมูน้ำตก

หมูน้ำตก..อาหารอีสานรสแซบอีกหนึ่งเมนู




เครื่องปรุง

สันในหมู 250 กรัม
หัวหอมแดง 2 หัว
ต้นหอม 2 ต้น
ผักชี 4-5 ต้น
ใบสะระแหน่ ¼ ถ้วย
น้ำมะนาว 1 ½ ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 1 ½ ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
พริกป่น ½ ช้อนชา
ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. นำสันในหมูมาล้างน้ำ สะเด็ดน้ำแล้วใช้ส้อมจิ้มให้ทั่ว วางบนตะแกรง ใส่ถาดแล้วนำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 350° ฟาเรนไฮด์นานประมาณ 20 นาที

2. ปลอกเปลือกหัวหอมแดง ตัดรากต้นหอมและผักชี ตัดก้านสะระแหน่ จากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วซอยหัวหอมแดงบางๆ ซอยต้นหอมและผักชีหยาบๆ ส่วนสะระแหน่เด็ดเป็นใบๆ พักไว้

3. นำเครื่องปรุงต่างๆ คือ น้ำมะนาว ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลทราย และพริกป่น มาผสมรวมกันในถ้วยผสม ชิมรสตามชอบ จากนั้น เมื่ออบสันในหมูได้ที่แล้วให้นำมาหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ (ถ้าเนื้อหมูยังไม่สุกดี ให้นำใส่หม้อ เปิดเตาที่ไฟแรง รวนไปซักประมาณ 2 นาทีจนหมูสุก)

4. นำหมูที่หั่นไว้มาใส่ในชามผสม นำหัวหอมแดง ต้นหอม ผักชีที่ซอยไว้ และใบสะระแหน่ที่เด็ดไว้ใส่ลงไปครึ่งหนึ่ง คลุกเครื่องทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้น นำน้ำปรุงรสที่ผสมไว้และข้าวคั่วเทลงไป คลุกเคล้าเนื้อหมูกับเครื่องต่างๆ ให้ทั่ว

5. ตักใส่จานโรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ที่เหลือ จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะหรือจะกินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยอย่าบอกใคร....




ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ตและสูตรจากhttp://www.ucancookthai.com


อาหารอีสาน

        หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน  หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว   ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ   มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง    เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน   ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น  มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ  และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน  อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน  ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
    ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล  แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด  เค็ม  และเปรี้ยว
     เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย  คือ  ปลาร้า  ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน  ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก   ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท   เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา