วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รวมภาพสุดยอดอาหารแซ่บ ๆ จากอีสานเด้อ




























ก้อยกะปอม

วิธีทำก้อยกะปอม

ขั่นแรกกะจัดการลอกหนังกะปอมออก เอาเครื่องในถิ่ม นำมาย่างไปอ่อนๆให้กะปอมสุกเหลือง





ทำการสับให้เป็นชิ้นน้อยๆ




อั่นนี้เป็นบักม่วงส้มเด้อพี่น้อง เอามาก้อยใส่กะปอมเพื่อให้มีรสซาติออกเปรี้ยวๆเนาะ



นำเอากะปอมที่สับเป็นชิ้นๆมาตำในครกให้ละเอียด
นำบักม่วงลงตำในครกที่ตำกะปอม ตำให้เข้ากัน




ใส่เครื่องปรุงลงไป พริงป่น ข้าวขั่ว น้ำปลา ผงชูรส น้ำปลาแดก




ใส่ผักใบเป ผักใบมน หัวหอม ต้นหอม ซอยลงไป ตำให้เข้ากัน
พอเสร็จแล้วกะสิเป็นหน้าตาแบบนี้ละ เพิ่มความเผ็ดด้วยบักพริกหน่วย เชิญแซบเด้อบาดนิ อิอิอิ


แหล่งที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread19915.html

อู๋ปลาซิว หรือ อ๋อปลาซิว

วิธีทำ อู๋ปลาซิว หรือ อ๋อปลาซิว 


ส่วนประกอบในการอู๋ปลาก็มี
1. ผักชีลาว
2. ต้นหอม
3. หัวหอม พริกแห้ง พริกสด
4. ตะไคร้ ข้าวคั่ว น้ำปลา ซอส ผงรสดี




หั่นผักชีลาว ต้นหอม
ตำพริกแห้ง หัวหอม ตะไคร้
เทรวมกัน เติมข้าวคั่ว ผงรสดี
น้ำปลา ซอส คนให้เข้ากันดี





เทใส่กะทะ ใส่น้ำบ่ต้องหลาย ประมาณโหลงเหลงก้นกะทะนั่นละจ้า





สุกแล้วจ้า



แหล่งที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread43206.html

ป่นปลาเข็ง





ป่นปลาเข็ง

หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วบ้านเฮาชาวอิสานเพิ่นกะสินิยมพากันสูบปลาโดยเฉพาะนาผู้ได๋มีสระ มีฝาย กะสิชวนพี่ ชวนน้องพากันไปสูบปลา ปลาที่ได๋กะสิมากมายหลายปลาบ่ว่าสิเป็น ปลาข่อ ปลาดุก ปลาเข็ง ปลากิเดิด ปลาซิว อีกมากมายหลายปลา

ปลาที่ได๋กะแบ่งกันไปกินตามหรือบางเทื่อได้บ่หลายกะสิเอ็ดกินปันกันกิน ตามวิถีชีวิตของคนอีสานบ้านเฮา มื้อนี้ กะเลยนำเมนูเด็ดอีกเมนูหนึ่งมาแนะนำนั่นกะคือ ป่นปลาเข็ง ( แจ่วปลาเข็งหรือ ปลาหมอ ) นั้นเอง
ส่วนผสม ของป่นปลาเข็งเฮากะสิมี
1.ปลาเข็ง ( ปลาหมอ )
2.ปลาร้า
3.พริกสดหรือพริกป่น
4.ต้นหอม
5.น้ำปลา
6.ผงชูรส (แล้วแต่คนชอบ )
วิธีทำ
นำปลาเข็งมาเอาเกล็ดและขี้ออก ต้มน้ำให้เดือด แล้วก็ใส่ปลาร้าละกะพริกสดลงไปจักหน่อย พอน้ำเดือดกะใส่ปลาเข็ง ลงไปต้ม ปิดฝาหม้อต้มจัก 10 -15 นาที พอปลาสุกแล้วกะ ตักออกมาใส่จานแกะเอาแต่เนื้อ ตักพริกสดที่ต้มลงไปตำในครกพอแหลก ๆ จากนั้น กะเทเนื้อปลาลงไปตำ พอแหลกจักหน่อย กะเทน้ำต้มปลาลงไปผสม ปรุงรสด้วย น้ำปลา ต้นหอม ผงชูรส เล็กน้อย ถ้าอยากให้ป่นปลามีสีสัน จักหน่อย อาจสิใส่พริกป่นแทนพริกสดกะได้ หรือว่าตอนต้มให้ใส่หมากกอกนาน้ำต้มมันสิได้มีรสชาติหวานจักหน่อย.พอปรุงรสชาติได้ที่แล้วกะตักใส่จาน กินกับลวกผักได้เลย แม่นแท้ กับลวกผักกะเดา หรือ ปิ้งผักกะเดา กะแซบคะนาด

อ่อมกบ ผักขะแยง

       

 อ่อมกบ ผักขะแยง 
ทำคล้ายๆกันหมดทั้งปลาทั้งกบ แต่ความอร่อยแตกต่างกัน โดยเฉพาะขาโต้ยกบ นี่สุดยอด
- กบทำแล้วสัยเป็นชิ้นๆ 1 ข้อมือ 4 ตัว ล้างสะอาดก่อนสับ สับแล้วไม่ต้องล้างอีกเดี๋ยวเนื้อจืด บ่อแซบ
- ผักขะแยง 1 กำมือ ล้างให้สะอาด แล้วเด็ดเอาส่วนอ่อน
- พริกสอ 10 เม็ด - หัวหอม 4 หัว - เกลือ 1 ช้อนชา โขลกรวมกันให้ละเอียด
- ข่าสด 3 แว่น - ตะไคร้ 1 ต้น
- น้ำปลาร้า 1 ช้อนโต๊ะ (ไม่ใส่ก็ได้ อีสานแท้ จะนัวกว่านี้ ข้อยเอาเท่านี้แหละ)
- น้ำปลาดี ตามสบาย
- ข้าวเบือ 1 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็นแฟนเก่าโหระพาจะรู้ว่าข้าวเบือคือ ข้าวสารเหนียว แช่นิ่ม โขลกละเอียดใส่ให้แกงหรืออ่อมข้น เวลาจ้ำ หรือคุ้ย คำข้าวไม่เปื่อยยุ่ย คนอีสาน รุ่นโบราณ ถือมากเรื่อง เมล็ดข้าวของคำข้าว หลุดใส่ถ้วยใส่จานอาหารส่วนกลาง ปัจจุบันนี้พัฒนามีภาชนะส่วนตัวกันหมดแล้ว )
- น้ำ เล็กน้อย

วิธีทำ

- เอาน้ำ ประมาณ 1/2 ถ้วยลงหม้อตั้งไฟพอเดือดเอาพริกที่โขลกรว ลงพร้อมกับข่า ตะไคร้ เอากบลงคั่ว
(อาการคนใส่น้ำน้อย) จนกบสุก ใส่น้ำ1 ถ้วย พอเดือดเอาน้ำปลาร้าลง น้ำปลาปรุงเค็ม ได้ที่ เอาผักขะแยงลง พลิกกลับไปมา ถ้าน้ำน้อยเพิ่มได้ไม่มาก น้ำต้องน้อยกว่าส่วนประกอบ จากนั้นเอาข้าวเบือละลายน้ำนิดเดียว คนให้เป็นแป้ง ค่อยๆใส่ลงหม้อ พอน้ำข้นหยุดใส่ คนเบาๆ ยกลง ขั้นตอนใส่ผักต้องเร็ว ถ้านานผักจะคล้ำเปื่อย ไม่อร่อยค่ะ
จบแล้วค่ะ ซิฟ่าวลงท่งไปหากบ หาหอยขัวเด้อพีน่อง

ก้อยกุ้งเต้น

วิธีทำ ก้อยกุ้งเต้น







เครื่องปรุง
๑. กุ้งฝอยสด ๆ เป็น ๆ ๑ ถ้วย
๒. หอมแดง ๔-๕หัว ซอยบาง ๆ
๓. พริกขี้หนูสด ๑๐-๒๐ เม็ด หั่นเป็นแว่นบาง
๔. พริกป่น
๕. ตะไคร้ซอย ๒-๓ หัว (ตัดที่แข็งออก)
๖. ข้าวคั่ว (คั่วใหม่ ๆ ) ๑-๒ ช้อนโต๊ะ โขกละเอียด
๗. น้ำปลา
๘. ใบสะระแหน่(บางท้องถิ่น เรียกใบหูแมว ใบหอมมน) กลิ่นฉุน เด็ดเป็นใบ ๆ ไม่หั่น จะช้ำ
๙. ต้นหอม
๑๐. ใบผักชีฝรั่ง
๑๑. ผักชีจีน
๑๒. ใบมะกรูดหั่นฝอย
๑๓. มะนาว, มะกอก(มะกอกที่ใส่ส้มตำ)
๑๔. ผักแพว ภาษาถิ่นภายัพเรียกผักไผ่

วิธีทำ
๑. ล้างกุ้งให้สะอาด เด็ดหนวด กรี(โครงแข็งแหลมที่หัวกุ้ง)ออก ไม่เอาออกก็ได้เพราะกุ้งฝอย ไม่เหมือนกุ้งก้ามกราม
๒. ใส่น้ำปลา น้ำมะนาว มะกรอก ลงในกุ้ง กุ้งจะเต้น(เขาจึงเรียกกุ้งเต้น ต้องใช้ภาชนะปรุงที่มีฝาปิด (มะกรอกจะทำให้สีอาหารดำ) ถ้าไม่ชอบใส่เฉพาะมะนาว ชิมรส ให้เป็นรสจัด (อย่างบทพระราชนิพนธ์ “วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย” คือสะดุ้ง เพราะรสจัดเผ็ด) ไม่ใช่กุ้งเต้นในปากนะ
๓. ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น
๔. ตามด้วยต้นหอม ผักชี ผักแพว ผักชีฝรั่ง สระแหน่ ตะไคร้ ใบมะกรูด คนให้เข้ากัน กลิ่นหอม ไปด้วยเครื่องปรุงสมุนไพร ทั้งนั้น
ดังบทพระราชนิพนธ์ “ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น” จริง ๆ ไม่มีกลิ่นคาวกุ้งเลยครับ
จัดใส่จานรองด้วยผักสลัด โรยผักชี แต่งด้วยพริกขี้หนหุสวนเม็ด แดง ๆ

ก้อยกุ้ง ที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นอาหารชาววัง วัฒนธรรมนี้ ผมว่าน่าจะได้จากของชาวบ้านเข้าไปรับใช้ในวัง ที่ผมสันนิษฐานแบบนี้ เพราะ ในวังคงไม่นิยมทานดิบ ๆ แน่ แม้แต่การละคร เช่นละครใน ก็ยังเกิดทีหลังละครนอก

หมายเหตุ ถ้าไม่ชอบดิบ ก่อนจะปรุงก็คั่วกุ้งให้สุก แต่รสชาติ จะไม่เหมือน กุ้งเต้นครับ ผักเคียง ยอดมะกอก ยอดมะตูม มะตูมซาอุ ผักแพว (ผักแพว เข้ากันจริง ๆ กับก้อยกุ้ง)

แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481516

ตำลาว


วิธีทำ...ตำลาว...ให้แซบนัว!!!




ส่วนผสม

พริกขี้หนู 7 เม็ด
พริกขี้หนูแห้งโขลกหยาบ 1 ช้อนชา
นำตาลทราย 1 1/2 ช้อนชา
มะเขือส้ม 5 ลูก
มะเขือเทศสีดา 2 ลูก
มะกอกป่า 1 ลูก
มะละกอสับเส้นยาว 2 ถ้วย
ใบกระเทียมหั่นท่อนขนาด 2 ต้น
น้ำปลาร้าปรุงรส 4 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาวหั่นชิ้น 1 1/2 ลูก
ปูนาต้มแกะกระดองออก 2 ตัว
กุ้งฝอยสดคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
ผักสดมี กะหล่ำปลี ผักบุ้งท้องนา ถั่วฝักยาว ผักกระถิน ฯลฯ

วิธีทำ

ตำพริกขี้หนูพอแตก ใส่พริกแห้งโขลก น้ำตาล เฉือนมะเขือส้ม มะเขือเทศสีดา และมะกอกป่าใส่ ตำเคล้าพอเข้ากัน ใส่มะละกอ ใบกระเทียม น้ำปลาร้าปรุงรส น้ำปลาบีบมะนาวใส่ ใส่ปูม้า ตำเคล้าอีกครั้งให้เข้ากันดี ตักใส่จานโรยกุ้งฝอย เสิร์ฟกับผักสด

เทคนิค

ตำลาวหรือตำปลาร้า ตำพื้นฐานของภาคอีสาน รสเผ็ดเค็มนำ นัวด้วยรสปลาร้า พิเศษคือจะใส่ใบกระเทียมด้วย เพระใบกระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้น้ำปลาร้ามีกลิ่นรสที่นวลเนียนขึ้น




แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/20khrkrsded/home/ta-law

วิธีทำ หมูน้ำตก

หมูน้ำตก..อาหารอีสานรสแซบอีกหนึ่งเมนู




เครื่องปรุง

สันในหมู 250 กรัม
หัวหอมแดง 2 หัว
ต้นหอม 2 ต้น
ผักชี 4-5 ต้น
ใบสะระแหน่ ¼ ถ้วย
น้ำมะนาว 1 ½ ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 1 ½ ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
พริกป่น ½ ช้อนชา
ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. นำสันในหมูมาล้างน้ำ สะเด็ดน้ำแล้วใช้ส้อมจิ้มให้ทั่ว วางบนตะแกรง ใส่ถาดแล้วนำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 350° ฟาเรนไฮด์นานประมาณ 20 นาที

2. ปลอกเปลือกหัวหอมแดง ตัดรากต้นหอมและผักชี ตัดก้านสะระแหน่ จากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วซอยหัวหอมแดงบางๆ ซอยต้นหอมและผักชีหยาบๆ ส่วนสะระแหน่เด็ดเป็นใบๆ พักไว้

3. นำเครื่องปรุงต่างๆ คือ น้ำมะนาว ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลทราย และพริกป่น มาผสมรวมกันในถ้วยผสม ชิมรสตามชอบ จากนั้น เมื่ออบสันในหมูได้ที่แล้วให้นำมาหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ (ถ้าเนื้อหมูยังไม่สุกดี ให้นำใส่หม้อ เปิดเตาที่ไฟแรง รวนไปซักประมาณ 2 นาทีจนหมูสุก)

4. นำหมูที่หั่นไว้มาใส่ในชามผสม นำหัวหอมแดง ต้นหอม ผักชีที่ซอยไว้ และใบสะระแหน่ที่เด็ดไว้ใส่ลงไปครึ่งหนึ่ง คลุกเครื่องทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้น นำน้ำปรุงรสที่ผสมไว้และข้าวคั่วเทลงไป คลุกเคล้าเนื้อหมูกับเครื่องต่างๆ ให้ทั่ว

5. ตักใส่จานโรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ที่เหลือ จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะหรือจะกินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยอย่าบอกใคร....




ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ตและสูตรจากhttp://www.ucancookthai.com


อาหารอีสาน

        หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน  หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว   ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ   มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง    เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน   ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น  มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ  และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน  อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน  ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
    ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล  แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด  เค็ม  และเปรี้ยว
     เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย  คือ  ปลาร้า  ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน  ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก   ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท   เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด


สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ
ประวัติสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด          จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักภาพด้านการท่องเที่ยวไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการ ที่จังหวัดร้อยเอ็ดไม่ได้เป็นเส้นทางผ่านที่สำคัญในเส้นทางท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับขีดจำกัดของการลงทุน ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีอยู่หลายปัจจัย เช่น การไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ขาดแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจ
ประกอบกับประเพณีและวัฒนธรรมก็ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเด่นชัด โดยสามารถจำแนกแหล่ง
ท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดออกไปตามอำเภอต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 

วัดกลางมิ่งเมือง


ตั้งอยู่บนถนนเจริญพาณิชย์เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งเมือง ร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบ พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาปัจจุบันเป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรม และสถานที่สอบธรรมสถานชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติบริเวณผนังรอบพระอุโบสถ มีภาพวาดจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธประวัติสวยงามและมีค่าทางศิลปะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4351 2400
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

กู่พระโกนา


ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ วัดกู่พระโกนา หมู่ 2 ตำบลสระคู การเดินทางจากจังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางตามทางหลวงสาย 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย 214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรจากจังหวัด ปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไปทางด้านซ้ายมือ ด้านหน้าเป็นสวนยาง   กู่พระโกนา ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทราย เรียงจากเหนือ-ใต้ ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมและซุ้มประตูเข้า-ออกทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทรายเช่นกัน
ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ และทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ที่เดิม คือเหนือประตูทางด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บนพื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพ เทวดานั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล นอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นอยู่ที่พื้น เป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโค และมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่า กู่พระโกนาเดิมจะมีสะพานนาคและทางเดินประดับเสานางเรียงทอดต่อไปจากซุ้ม ประตูหน้าไปยังสระน้ำ หรือบารายซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300  เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบบาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่16
           การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ไปประมาณ 12  กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา  อยู่ทางซ้ายมือ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนยาง บริเวณวัดมีลิงแสมอาศัยอยู่
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด


ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรเทพ (หน้าวัดบึงพระลานชัย)ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 อาคารเชื่อมต่อกัน อาคารแรกประกอบด้วยห้องโถงห้องบรรยาย ห้องนิทรรศการ สำนักงาน ห้องจำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนอาคารที่ 2 เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบางชนิดเกือบจะสูญพันธุ์หรือเป็นพันธุ์ ที่หายากประกอบด้วยตู้ปลาขนาดเล้กที่ฝังอยู่ในผนังรอบๆอาคาร จำนวน 24 ตู้กลางอาคารเป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร มีอุโมงค์แก้วผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ชั้นบนของอาคารเป็นบ่อพักน้ำถังกรองน้ำบ่อพักและสำรองพันธุ์สัตว์น้ำไว้ สำหรับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ป่วยด้านนอกของตัว อาคารจะมีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่ตัวอาคารโดยจัดเป็นสวนหย่อมและปลูก ไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบของตัวอาคารพร้อมทั้งจัดให้มีลานจอดรถสำหรับผู้เข้าชม อีก2 จุด สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดนี้เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4351 1286
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

กู่กาสิงห์


ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215 ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18 กิโลเมตร
กู่กาสิงห์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ขณะนี้สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะให้เห็นสภาพชัดเจนสวยงามยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง

ปรางค์ประธานหรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาล ซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้าน ขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน" อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์
       
การเดินทาง  สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47  กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215 ต่อด้วย 214 ) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

ผาน้ำย้อย (พุทธอุทยานอีสาน)


ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก เป็นผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลซึมตลอดปีอยู่บนภูเขาเขียว แบ่งพรมแดนระหว่างอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่ เป็นป่าไม้เนื้อแข็งนานาชนิด มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น หมูป่า เก้ง กวาง ไก่ป่า ผาน้ำย้อยอยู่สูงจากระดับพื้นดิน 200 เมตร และสูงกว่าระดับน้ำทะเล 380-500 เมตร บนเขาลูกนี้มี วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม มีเนื้อที่ 0,500 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ศรีมหาวิโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัต เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ภายในบริเวณมี พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นพระเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย ออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และได้ตกแต่งลวดลายงามวิจิตรของศิลปะยุคใหม่และยุคเก่าผสมเป็นศิลปะร่วมสมัย ที่หาดูได้ยาก พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนี้ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ภายในพระมหาเจดีย์มีทั้งหมด 6 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่โออ่า ใช้เป็นห้องเอนกประสงค์ และประชุมบำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นศาลาประชุมสงฆ์ ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นอุโบสถ และประดิษฐานรูปพระคณาจารย์ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูป เหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 เป็นชั้นพิพิธภัณฑ์
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมิ่งมหามงคล

การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอหนองพอก ระยะทาง 80 กิโลเมตร จากตัวเมืองร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

บึงเกลือ (ทะเลอีสาน)


อยู่ในเขตตำบลบึงเกลือ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 7,500 ไร่ ในบึงน้ำแห่งนี้มีน้ำขังตลอดปี ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาดกว้างขวาง มีแพร้านอาหารบริการอาหารอีสานและอาหารตามสั่ง นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนและเล่นกีฬาทางน้ำ

     การเดินทาง จากอำเภอเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอธวัชบุรี ถึงอำเภอเสลภูมิเข้าทางหลวงหมายเลข 2259 ประมาณ 10 กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าซอย 8 กิโลเมตร


แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org